ความเป็นมา



มหาจุฬาอาศรม

 

                มหาจุฬาอาศรมแห่งนี้  เกิดจากแรงศรัทธาของประชาชนผู้ปฏิบัติธรรม  ณ สำนักธรรมวิจัย        มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยสังฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์  กรุงเทพมหานครและประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินจำนวน ๗๙ ไร่        ที่หมู่ ๓ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา  ซึ่งเป็นสวนมะพร้าวและลำไย ของนางชวนชื่น  ศีระวงษ์    ในนามของมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๗ในราคา ๓๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔   ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้ทางราชการโอนเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินจากมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย

                การจัดซื้อที่ดินเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานแห่งนี้   เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าเป็นสถานที่สงบร่มรื่นดี  มีภูเขาป่าไม้ลำธาร  และห่างไกลจากความแออัดและสิ่งรบกวนที่ก่อให้เกิดมลภาวะได้  นับว่าเป็นสถานที่เหมาะอย่างยิ่ง  จึงได้จัดตั้งเป็นมหาจุฬาอาศรม ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  และได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

๑.      เป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระนิสิต  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๒.    เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมของประชาชนทั่วไป

๓.     เป็นศูนย์อบรมจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน

๔.     เป็นศูนย์กิจการด้านส่งเสริมศีลธรรม

๕.     เป็นศูนย์บริการสถานที่สำหรับค้นคว้าด้านวิชาการของคณะอาจารย์และนิสิต

                มหาจุฬาอาศรม  ได้เกิดขึ้นในสมัยที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์  (เกี่ยว  อุปเสณมหาเถร ป.ธ.๙)  เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์  ที่พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นเลขาธิการมหาจุฬาฯ  พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์  (ป.  อ.  ปยุตฺโต  ป.ธ.๙ )  เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์  ที่  พระราชวรมุนีเป็นรองเลขาธิการมหาจุฬาฯ พระเดชพระคุณพระเทพกิตติโสภณ (สมบูรณ์ สมฺปุณฺโณ  ป.ธ.๗) เป็นผู้ช่วยเลขาธิการมหาจุฬาฯ

                ในหนังสือ นิธิมหาจุฬาอาศรม  ได้มีคำอนุโมทนา  ปรารภ  เชิญชวน  ให้สาธุชนได้ร่วมกันสร้างมหาจุฬาอาศรมของพระมหาเถระ  อดีตผู้บริหารมหาจุฬา  ทั้ง ๓ รูป  ดังนี้

               
                                                ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน                              ไม่ลุกขึ้นทำ
                                                ทั้งที่ยังหนุ่มแน่นมีกำลัง                                   กลับเฉื่อยชา        
                                                ปล่อยความคิดให้จมปลัก    เกียจคร้าน  มัวซึมเซาอยู่
                                ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา
                             (๐๕.๑๘)                                                                              (๒๕/๓๐)
                                (พระพรหมคุณาภรณ์,  อมฤตพจนา,  ๒๕๔๘,  หน้า ๕๖.)