วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม


พระธรรมธีรราชมหามุนี  (โชดก  ป.ธ.  ๙). ทาง    สาย, กรุงเทพมหานคร  :  สำนักงานกลางกองการ-วิปัสสนาธุระ  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๔๒.

_____________________________________________________________.  วิธีสมาทาน  วิธีปฏิบัติ

                วิปัสสนากรรมฐาน,  พิมพ์ครั้งที่  ๓๐  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,             ๒๕๔๕.

พระธรรมปิฎก  (ป.   อ.   ปยุตฺโต).   ธรรมนูญชีวิต,  กรุงเทพมหานคร  :  ที่ระลึกงานวันครอบครัว  ดร.วศิน          กาญจนวณิชย์กุล,   บริษัท  สหธรรมิก  จำกัด,  ๒๕๔๓.    

_____________________________________________________________.  พจนานุกรมพุทธศาสตร์

                ฉบับประมวลธรรม,  กรุงเทพมหานคร  :  บริษัท  สื่อตะวันจำกัด,  ๒๕๔๕.                                      พระวิสุทธิสมโพธิ.  ชุมนุมสวดมนต์ฉบับหลวง,  กรุงเทพมหานคร  :  สำนักพิมพ์อำนวยสาส์น,  มปป.   พระครูอรุณธรรมรังษี.  มนต์พิธีสำหรับพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป,  กรุงเทพมหานคร  :         โรงพิมพ์อักษรสมัย,  มปป.

พระศาสนโศภน.   สวดมนต์แปล,  พิมพ์ครั้งที่  ๑๒  กรุงเทพมหานคร  :   โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,             ๒๕๓๘.

พระปริยัติธรรมคุณาธรรม  (ธ.ธรรมศรี).  สวดมนต์ฉบับหลวง,  กรุงเทพมหานคร  :  เลี่ยงเซียงจงเจริญ,                ๒๕๑๓.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น  แปล  :  โครงการบรรพชาและ อบรมเยาวชน  ภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ,  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช- วิทยาลัย,  ๒๕๔๒.

วัดยานนาวา.  หนังสือสวดมนต์  ฉบับวัดยานนาวา,  กรุงเทพมหานคร  :  บริษัท  กราฟิค  อาร์ตพริ้นติ้ง                   จำกัด,  ๒๕๔๕.                 

 

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์.  หนังสือสวดมนต์  ฉบับวัดมหาธาตุ,  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์มหาจุฬา-             ลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๔๒.

สำนักงานพุทธมณฑล  กรมการศาสนา.  คู่มือสมาธิภาวนาสวดมนต์แปล,  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์               การศาสนา,  ๒๕๔๒.               

ส่วนธรรมนิเทศ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและทำ                    วัตรสวดมนต์แปล,  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๔๒.

สมเด็จพระสังฆราช  (ปุสฺสเทว).  สวดมนต์ฉบับหลวง,  พิมพ์ครั้งที่ ๑๖  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์มหา-         มกุฎราชวิทยาลัย,  ๒๕๓๖.

สวนโมกขพลาราม  ไชยา.  คู่มืออุบาสกอุบาสิกา,  กรุงเทพมหานคร  :  สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง,  ๒๕๔๕.                                                                  

 

โพธิปักขิยธรรม ๓๗


๑.      สติปัฏฐาน        /     กาย  เวทนา  จิต  ธรรม

๒.    สัมมัปปธาน     /     สังวร  ปหาน  ภาวนา  อนุรักขนา

๓.     อิทธิบาท ๔           /     ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา

๔.     อินทรีย์              /     สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา

๕.     พละ                   /     สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา

๖.      โพชฌงค์          /     สติ  ธัมมวิจยะ  วิริยะ  ปิติ  ปัสสัทธิ  สมาธิ  อุเบกขา

๗.     มรรคมีองค์       /     สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ

                                                      สัมมาวายามะ  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ

 

จาก  ๓๗  สรุปเหลือ  ๑๔  คือ

๑.      ฉันทะ                   ๒.  จิตตะ                              ๓.  ปีติ

๔.  ปัสสัทธิ                                ๕.  อุเบกขา                          ๖.  สัมมาสังกัปปะ

๗.  สัมมาวาจา           ๘. สัมมากัมมันตะ             ๙.  สัมมาอาชีวะ 

๑๐. สัทธา  :  ซ้ำ    ครั้ง  (สัทธินทรีย์,  สัทธาพละ)

๑๑.  สมาธิ  :  ซ้ำ    ครั้ง  (สมาธินทรีย์,  สมาธิพละ,  สมาธิสัมโพชฌงค์,  สัมมาสมาธิ)

๑๒.  ปัญญา  :  ซ้ำ    ครั้ง

       ๑.  วิมังสา  /  ในอิทธิบาล 

       ๒.  ปัญญินทรีย์  /  ในอินทรีย์ 

       ๓.  ปัญญาพละ  /  ในพละ 

       ๔.  ธรรมวิจัย  /  ในโพชฌงค์ 

       ๕.  สัมมาทิฏฐิ  /  ในมรรคมีองค์ 

๑๓.  สติ  :  ซ้ำ    ครั้ง

       ๑.  กายานุปัสสนา              สติปัฏฐาน

       ๒.  เวทนานุปัสสนา          สติปัฏฐาน            ในสติปัฎฐาน 

       ๓.  จิตตานุปัสสนา             สติปัฎฐาน           

       ๔.  ธัมมานุปัสสนา            สติปัฎฐาน

       ๕.  สตินทรีย์  /  ในอินทรีย์ 

       ๖.  สติพละ  /  ในพละ 

       ๗.  สติสัมโพชฌงค์  /  ในโพชฌงค์ 

       ๘.  สัมมาสติ  /  ในมรรคมีองค์ 

 

 

 

 

๑๔.  วิริยะ  :  ซ้ำ    ครั้ง

       ๑.  สังวรปธาน

       ๒.  ปหานปธาน                 ในสัมมัปปธาน 

       ๓.  ภาวนาปธาน

       ๔.  อนุรักขนาปธาน

       ๕.  วิริยะ  /  ในอิทธิบาล 

       ๖.  วิริยินทรีย์  /  ในอินทรีย์ 

       ๗.  วิริยะพละ  /  ในพละ 

       ๘.  วิริยะสัมโพชฌงค์  /  ในโพชฌงค์ 

       ๙.  สัมมาวายามะ  /  ในมรรคมีองค์     

คำแผ่เมตตาบทใหญ่


อิทัง  โน  ปุญญะภาคัง  ราชาทีนัญเจวะ  อิสสะรานัง  มาตาปิตุอาทีนัญจะ  ปิยะชะนานัง

สัพพะสัตตานัญจะ  นิยยาเทมะ 

                ข้าพเจ้าทั้งหลาย,  ขอน้อมกุศลถวาย,  เป็นพระราชกุศล,  แด่อิสระชน,  บุคคลผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย,  มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,  ผู้เป็นพระประมุขของชาติ,  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ,  พระ-บรมวงศานุวงศ์,  สมเด็จพระสังฆราช,  ผู้เป็นประมุขของคณะสงฆ์,  พร้อมทั้งคณะรัฐบาล,  ผู้บริหารประเทศเป็นต้น

                ขอแผ่ส่วนบุญกุศลนี้, ให้แก่ปิยชน,  บุคคลผู้เป็นที่รักทั้งหลาย,  มีบิดามารดา  ปู่ย่า  ตา  ยาย,  ครู  อุปัชฌา  อาจารย์,  ท่านผู้มีพระคุณ,  ท่านผู้มีบุญคุณทุก ๆ  ท่าน,  เจ้ากรรมนายเวร,  ภูตผีปีศาจทั้งหลาย,  เปรตทั้งหลาย,  เทพบุตรเทพธิดาทุก ๆ  องค์,  พระภิกษุสามเณรทุก ๆ  รูป,  และท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุก ๆ คน,  ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย,  ทุกถ้วนหน้าทุกตัวตน,  ทุกชาติชั้นวรรณะ,  ทุกศาสนาทุกภาษา,  ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมแห่งโลก,  ทั้งเป็นประมาณและไม่เป็นประมาณ,  ที่เกิดในชลาพุชะก็ดี,  อัณฑชะก็ดี,  สังเสทชะก็ดี,       โอปปาติกะก็ดี,  ที่อยู่ในทิศบูรพา  ทิศอาคเนย์  ทิศทักษิณ  ทิศหรดี  ทิศปัจจิม  ทิศพายัพ  ทิศอุดร  ทิศอีสาน  ทิศเบื้องบน  ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมาก็ดี,  ทิศเบื้องล่าง  ตั้งแต่โลกันตมหานรกขึ้นมาก็ดี  โดยส่วนสุดรอบ  สุดขอบจักรวาล,  มีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด,

                และขอแผ่นส่วนบุญนี้,  ถวายแด่บูรพาจารย์  ผู้บริหารงานพระพุทธศาสนา  มีสมเด็จพระพุฒาจารย์  (อาจ  อาสภมหาเถร)  พระธรรมธีรราชมหามุนี  (โชดก  ญาณสิทธิเถร)  เป็นต้น  ตลอดถึงบูรพมหากษัตริย์ไทยทุก ๆ พระองค์,  มีสมเด็จพระปิยะมหาราช,  รัชกาลที่ ๕,  พระผู้ทรงสถาปนา  มหาวิทยาลัย,  มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย,  ตลอดถึงท่านผู้กล้าหาญทั้งหลาย  มีย่าโม  เป็นต้น,

                สัพเพ  สัตตา  ปุญญะภาคิโน  โหนตุ    ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย,  จงเป็นผู้มีส่วน  และอนุโมทนาบุญกุศล, ร่วมกับข้าพเจ้าทั้งหลาย,  ท่านทั้งหลาย  ที่ท่านถึงทุกข์,  ขอให้พ้นจากความทุกข์,  ที่ถึงสุขอยู่แล้ว  ขอให้มีความสุขยิ่ง ๆ  ขึ้นไป,

                ด้วยกุศลจริยา  สัมมาปฏิบัติ,  ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วนี้,  จงมารวมกันเป็นตบะ,  เป็นเดชะ,  เป็นพลวะปัจจัย,  เป็นอุปนิสัยตามส่ง,  ให้ข้าพเจ้าเกิดสติปัญญาญาณ,  ทั้งชาตินี้และชาติหน้า,  ตลอดชาติอย่างยิงจนถึงความพ้นทุกข์  คือ  พระนิพพานเทอญ 

 

คำสมาทานกรรมฐานย่อ


อุกาสะ  อุกาสะ,     โอกาสบัดนี้,  ข้าพเจ้า,  ขอสมาทาน,  ซึ่งพระกรรมฐาน,   ขอให้สมาธิ,

และวิปัสสนาญาณ,  จงบังเกิดมีในขันธสันดาน,  ของข้าพเจ้า,  ข้าพเจ้า,  จะตั้งสติกำหนดไว้,  ที่รูปนาม

ปัจจุบัน,  เพื่อให้เห็นรูปนาม,  เป็นอนิจจัง,   เป็นทุกขัง,  เป็นอนัตตา,  เพื่อเบื่อหน่าย,  เพื่อคลายกำหนัด,

เพื่อให้เห็นแจ้ง,  ซึ่งมรรค  ผล  นิพพาน,  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  เทอญ 

วิธีสมาทานปฏิบัติวิปัสสนากรมมฐาน


ผู้ที่จะสมาทานพระกรรมฐาน  พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑.       ถวายสักการะต่อพระอาจารย์  ผู้ให้พระกรรมฐาน

๒.     จุดธูป  เทียน  บูชาพระรัตนตรัย

๓.      ถ้าเป็นพระ  ให้แสดงอาบัติก่อน  ถ้าเป็นอุบาสก  อุบาสิกา  ให้สมาทานศีลเสียก่อน

๔.    มอบกายถวายชีวิตต่อพระรัตนตรัย

อิมาหัง  ภะคะวา  อัตตะภาวัง  ตุมหากัง  ปะริจจะชามิ 

ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ข้าพระองค์ขอมอบกาย  ถวายชีวิตต่อพระรัตนตรัย  คือ

 พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์

๕.     มอบกายถวายตัวต่อพระอาจารย์

อิมาหัง  อาจะริยะ  อัตตะภาวัง  ตุมหากัง  ปะริจจะชามิ 

ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัวต่อครูบาอาจารย์  เพื่อเจริญ

วิปัสสนากรรมฐาน

๖.       ขอพระกัมมัฏฐาน

นิพพานัสสะ เม  ภันเต  สัจฉิกะระณัตภายะ  กัมมัฏฐานัง  เทหิ 

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอท่านจงให้  ซึ่งพระกรรมฐาน  แก่ข้าพเจ้า  เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

มรรค  ผล  นิพพาน  ต่อไป

๗.     แผ่เมตตา

อะหัง  สุขิโต  โหมิ    นิททุกโข  โหมิ,  อะเวโร  โหมิ,  อัพยาปัชโฌ  โหมิ,  อะนีโฆ  โหมิ,

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรามิ 

ขอให้ข้าพเจ้าถึงความสุข  ปราศจากความทุกข์  ไม่มีเวร  ไม่มีภัย  ไม่มีความเบียดเบียนซึ่งกัน

และกัน ไม่มีความลำบาก  ไม่มีความเดือดร้อน  ขอให้มีความสุข  รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ  สัตตา  สุขิตา  โหนตุ,  นิททุกขา  โหนตุ,  อะเวรา  โหนตุ,  อัพยาปัชฌา  โหนตุ,

อะนีฆา โหนตุ,  สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ 

ขอให้สัตว์ทั้งหลายทุกตัวตน ตลอดเทพบุตร เทพธิดา  ทุกองค์  พระภิกษุสามเณร  และผู้ปฏิบัติ

ธรรมทุก ๆ  ท่าน  จงเป็นผู้มีความสุข  ปราศจากทุกข์  ไม่มีเวร  ไม่มีภัย  ไม่มีความเบียดเบียนซึ่งกัน

และกัน ไม่มีความลำบาก  ไม่มีความเดือดร้อน  ขอให้มีความสุข  รักษาตนอยู่เถิด

๘.     เจริญมรณานุสสติ

อัทธุวัง  เม  ชีวิตัง,  ธุวัง  มะระณัง,  อะวัสสัง  มะยามะริตัพพัง,  มะระณะปะริโยสานัง  เม 

ชีวิตัง,  ชีวิตะเมวะ  อะนิยะตัง,  มะระณัง  นิยะตัง 

ชีวิตของเราเป็นของไม่ยั่งยืน  ความตายเป็นของยั่งยืน  เราจะต้องตายแน่  เพราะว่าชีวิตของเรามี

ความตายเป็นที่สุด  ชีวิตเป็นของไม่แน่นอน  ความตายเป็นของแน่นอนแท้  เป็นโชคอันดีที่เราได้เข้าปฏิบัติ

วิปัสสนากรรมบาน  ในโอกาสบัดนี้  ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

 

๙.       ตั้งสัจจะอธิษฐาน  และปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัยต่อครูบาอาจารย์

                                                เยเนวะ  ยันติ  นิพานัง

                                                พุทธา  เตสัญจะ  สาวะกา

                                                เอกายะเนนะ  มัคเคนะ

                                                สะติปัฏฐานะสัญญินา 

พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยาสาวก  ย่อมดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยทางสายใด  ทางสายนั้น

เป็นทางสายเอก  ซึ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายต่างรู้ทั่วถึงกันแล้วว่า  ได้แก่สติปัฏฐานทั้ง 

ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐานปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัย  และต่อครูบาอาจาย์ว่า

“ตั้งแต่นี้ต่อไป  ข้าพเจ้าจะตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติจริง ๆ เท่าที่ตนสามารถ  เท่าที่ตนมีโอกาส

จะปฏิบัติได้  เพื่อให้ได้บรรลุมรรค  ผล  นิพพาน  เจริญรอยตามพระองค์ท่าน”

อิมายะ  ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา  ระตะนัตตะยัง  ปูเชมิ 

ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่มรรค  ผล  นิพพานนี้  ด้วยสัจจะ

วาจาที่กล่าวอ้างมานี้  ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุมรรค  ผล  นิพพาน  ด้วยเทอญ

๑๐.    สวดพุทธคุณ  ธรรมคุณ  และสังฆคุณ

๑๑.  ถ้าอยู่ป่า  อยู่ถ้ำ  ให้สวดกรณียเมตตสูตร  (กรณียมัตถฯ)

ขันธปริตร  (วิรูปักเขฯ)  อาฏานาฏิยสูตร  (วิปัสสิสสนมัตถุฯ)

จุดหมายของชีวิต๑


ขั้นที่ ๑  ทิฏฐธัมมิกัตถะ  จุดหมายขั้นตาเห็น  หรือประโยชน์ปัจจุบัน

ก)      มีสุขภาพดี  ร่างกายแข็งแรง  ไร้โรค  งามสง่า  อายุยืน

ข)      มีเงินมีงาน  มีอาชีพสุจริต  พึ่งตนได้ทางเศรษฐกิจ

ค)      มีสถานภาพดี  เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม

ง)      มีครอบครัวผาสุก  ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ

ขั้นที่ ๒  สัมปรายิกัตถะ  จุดหมายขั้นเลยตาเห็น  หรือประโยชน์เบื้องหน้า

ก)      ความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ  ด้วยศรัทธา  มีหลักใจ

ข)      ความภูมิใจในชีวิตสะอาด  ที่ได้ประพฤติแต่การสุจริต

ค)      ความอิ่มใจในชีวิตมีคุณค่า  ที่ได้เสียสละทำประโยชน์

ง)      ความแกล้วกล้ามั่นใจ ที่มีปัญญาแก้ปัญหานำชีวิตได้

จ)      ความโล่งจิตมั่นใจ  ว่าได้ทำกรรมดี  มีทุนประกันภพใหม่

ขั้นที่ ๓  ปรมัตถะ  จุดหมายสูงสุด  หรือประโยชน์อย่างยิ่ง

ก)      ไม่หวั่นไหวไปตามความผันผวนปรวนแปรต่าง ๆ

ข)      ไม่ผิดหวังเศร้าบีบคั้นจิตเพราะความยึดติดถือมั่น

ค)      ปลอดโปร่ง  สงบ  ผ่องใส  สดชื่น  เบิกบานใจตลอดเวลา

ง)      เป็นอยู่และทำการด้วยปัญญาซึ่งมองที่เหตุปัจจัย

 

จุดหมาย ๓ ขั้นนี้  แยกเป็น ๓ ด้าน  คือ

ด้านที่ ๑  อัตตัตถะ  จัดหมายเพื่อตน  หรือประโยชน์ตน คือ  ประโยชน์    ขั้นข้างต้น  ซึ่งพึงทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง หรือ  พัฒนาชีวิตของตนให้ลุถึง

ด้านที่ ๒  ปรัตถะ   จุดหมายเพื่อผู้อื่น  หรือประโยชน์ผู้อื่น  คือ  ประโยชน์    ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือให้ผู้อื่นหรือเพื่อนมนุษย์ได้บรรลุถึง  ด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของเขาเองขึ้นไปจนเข้าถึงตามลำดับ

ด้านที่ ๓  อุภยัตถะ   จุดหมายร่วมกัน  หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย  คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชน  หรือสังคม  รวมทั้งภาวะและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ  ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา  เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จัดหมาย    ขั้นข้างต้น